สาส์นจากประธานฯ - บริษัท ทีซีที โลจิสติกส์ จำกัด
นาย เหมา ชีอี
กับสมาคมโลจิสติกส์และการจัดซื้อไทย-จีน

ซาบซึ้งในน้ำใจคนไทย ตั้งหลักในประเทศไทย
     นาย เหมาพูดถึงประสบการณ์ครั้งแรกที่มาศึกษาลู่ทางการค้าการลงทุนในประเทศไทยว่า “ประเทศไทย ทำให้ ข้าพเจ้าสัมผัสถึงความปรารถนาดีและพลังของอารยธรรม” และภายในนโยบายของจีน “เดินออกไป” ข้าพเจ้าก็เดิน ออกนอกประเทศจีนเพื่อไปศึกษาลู่ทางและแสวงหาโอกาสของการค้าการลงทุนเพื่อสร้างฐานะตัวเองเหมือนคนจีน ทั่วไป ดังนั้น “ข้าพเจ้าก็เดินทางมาถึงประเทศไทยแต่ลำพังผู้เดียว”

 



แต่แล้ว นาย เหมาก็พบว่าปัญหาถึงแม้จะเป็นอุปสรรคที่พิชิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเขาซึ่งจบจากคณะสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยการอุตสาหกรรมอู่ฮั่น ศูนย์ต้าเหลียนที่มีความเชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ฟิสิกส์และเคมี แต่ไม่มีความรู้ทางภาษาเลย เรื่องภาษาก็สร้างความปัญหาแก่เขาอยู่ไม่น้อย แต่ว่ามีเรื่องเล็กๆสองเรื่องได้เปลี่ยนชีวิตนายเหมา ทำให้เขาตัดสินใจทำการค้าในประเทศไทยต่อไป

นายเหมายเล่าว่า “ตอนที่มาใหม่ๆ พูดภาษาไทยไม่ได้ มีอยู่วันหนึ่งข้าพเจ้าเดินทางไปเยาวราช เห็นป้ายร้านค้าที่เขียนด้วยตัวหนังสือจีนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสนิทสนมและตื่นเต้นมาก จนข้ามถนนโดยไม่ได้มองรถ ทันใดนั้น มีรถคันหนึ่งเบรกรถและหยุดรถ ที่แรกข้าพเจ้าเข้าใจว่าเขาก็กดแตกไล่หรือด่าข้าพเจ้า แต่ที่ไหนได้ คนขับรถโบกมือให้ข้าพเจ้าข้ามไปก่อน ”

“หลังจากนั้น ข้าพเจ้าซึ่งไม่ค่อยคุ้นเคยกับตลาดให้กรุงเทพมหานคร ยังได้ไปสำรวจตลาดหลายครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะที่ข้าพเจ้าหิ้วกระเป๋าเดินทาง หาป้ายรถไม่เจอข้าพเจ้าก็ต้องใช้ภาษาท่าทางประกอบกับแผนที่เพื่อถามทาง คนไทยคนหนึ่งทราบเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว ขับรถถือกระเป๋าและส่งถึงที่ ความปรารถนาดีทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้ง หลังจากถึงที่หมายแล้ว ข้าพเจ้าหยิบเงินเพื่อเป็นการขอบคุณเขา ก็เขาก็ไม่รับ”

แค่เรื่องเล็กๆ สองเรื่อง ทำให้นายเหมาซาบซึ้งถึงไมตรีจิตของคนไทย นายเหมามีภูมิลำเนาอยู่มณฑลซานตง มีจิตใจเอื้ออารีย์ในสายเลือด แต่นึกไม่ถึงว่าในต่างแดนยังได้ สัมผัสมิตรไมตรีเช่นนี้ และตัดสินใจว่าต้องปักหลักที่ประเทศไทยเพื่อทำธุรกิจการค้า และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามต่อไป

เส้นทางธุรกิจขรุขระ ในที่สุดเจอธุรกิจที่ตนถนัด

เริ่มแรก นายเหมาไม่ได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจนัก เส้นทางธุรกิจขรุขระ ประสบปัญหาทั้งไม่คุ้นเคยกับการตลาดและปัญหาด้านบริหารจัดการ แต่นายเหมาก็ไม่ได้ล้มเลิกความตั้งใจเดิม เดินทางไปจีนไประดมทุนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาแรก นายเหมาเดินไปแจกนามบัตรตามท้องถนน และวางแผนไปประชาสัมพันธ์สินค้าของตน และไม่พลาดงานแสดงสินค้า ทุกครั้งที่ประเทศไทยมีการจัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมนายเหมาต้องเข้าร่วมแสดงสินค้าไม่เคยขาดเลย

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ธุรกิจอุปกรณ์สิ่งพิมพ์เริ่มดีขึ้น อาศัยการประชาสัมพันธ์จากคนสู่คน ทำให้นายเหมารู้จักคนมากขึ้น มีรายได้ที่ดีขึ้น และเริ่มเข้าไปในธุรกิจติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และก่อตั้งบริษัท TCT INTERNATIONALCO.,LTD. อย่างเป็นทางเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2006

เข้าสู่วงการธุรกิจโลจิสติกส์ ได้รับความชื่นชมด้วยการบริการที่เป็นดี

เมื่อยอดขายมีการเพิ่มมากขึ้นต้องการสั่งซื้อสินค้าและขนส่งสินค้าทำให้โลจิสติกส์กลายเป็นปัจจัยที่จำกัดการเติบโตของธุรกิจนายเหมา ทำให้นายเหมาหันมาสนใจเรื่องโลจิสติกส์ นายเหมาพบว่าโลจิสติกส์ ระหว่างไทย-จีนยังมีโอกาสพัฒนาอีกมาก แม้จะบริษัทมากมายที่ทำให้การขนส่งระหว่างไทย-จีน แต่ยังเป็น ธุรกิจใหม่ ยังมีปัญหา อุปสรรคอีกมาก แต่นั่นก็ย่อมหมายถึงโอกาสทางธุรกิจด้วย ดังนั้น นายเหมาก็จัดตั้ง บริษัทโลจิสติกส์ขึ้นมาและวางแนวทางบริการรวดเร็ว ความปลอดภัยสูง ต้นทุนต่ำ

เนื่องจากกว่ามีแนวทางในการดำเนินธุรกิจแบบนี้ ทำให้นายเหมา มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็น หนึ่งในบริษัทโลจิสติกส์ไทย-จีนที่ดีที่สุด นายเหมาคิดว่าโลจิสติกส์ระหว่างไทย-จีนไม่จำเป็นต้องมีปริมาณมหาศาล แต่เน้น”จิ๋วแต่แจ๋ว”

ธุรกิจของบริษัทในขณะนี้หลักๆ เน้นโลจิสติกส์ระหว่างไทย-จีน และบุกเบิกธุรกิจการส่งของด่วนภายในประเทศไทย พยายามสร้างเครือข่ายครอบคลุม 77 จังหวัดของประเทศไทย

หลังจากรัฐบาลจีนเสนอแนวความคิดหนึ่งแถบหนึ่งเส้น ไม่ว่าผู้โดยสารและสินค้าระหว่างไทย-จีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะซื้อของผ่านออนไลน์ ดังนั้น ตามเมืองต่างๆ ของจีนจะประกาศกฎระเบียบที่เกี่ยวกับภาษี การขนส่งข้ามแดนเป็นต้น ทำให้การซื้อของผ่านออนไลน์ข้ามประเทศกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป

เอาใจใส่การพัฒนา ตอบแทนสังคม

ทำให้อย่างไรให้ธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างไทย-จีนและในอาเซียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยกระดับคุณภาพของการบริการให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่นายเหมาคิดตลอด ทำให้อย่างไรให้มีเวทีสำหรับผู้ประกอบการมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดถึงประสบการณ์และสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นมา

ภายใต้เบื้องหลังความคิดเช่นนี้ นายเหมาและผู้ประกอบการรายอื่นๆได้จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมโลจิสติกส์และการจัดซื้ออาเซียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ปี 2015 ที่กระทรวงพาณิชย์ของไทย ขณะนี้มีบริษัทโลจิสติกส์กว่า 10 รายเข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว

และในโอกาสที่จัดตั้งสมาคมนั้น ได้ขึ้นทะเบียน ตีพิมพ์วารสาร “ASEAN Logistics and Purchasing” วางน้ำหนักอยู่ที่การให้ข้อมูลและการจัดอบรม พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์เป็นหลัก นอกจากนั้น มีการปรึกษาหารือถึงมาตรฐานการให้บริการเป็นต้น เพื่อให้สมาคมและวารสารสามารถรับใช้ผู้ประกอบการอย่างแท้จริง เป็นสมาคม และเป็นวารสารของผู้ประกอบการทุกคนอย่างแท้จริง